ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Review : Azumi Haruko wa Yukuefumei (Japanese Girls Never Die) - โมเอะไม่เคยตาย

Review : Azumi Haruko wa Yukuefumei
(Japanese Girls Never Die) - โมเอะไม่เคยตาย [24/2017]
Score : 8/10

"นี่คืองานศิลป์สุดล้ำ การตัดต่อที่แหวกแนว งานภาพสื่ออารมณ์ จิกกัดสังคมที่มีผู้ชายเป็นใหญ่ได้อย่างเจ็บแสบ เป็นหนังที่ให้แง่คิดที่เจ๋งโคตร!!!"


หนังเรื่องนี้บอกตามตรงว่าเหนือคาดจากจินตนาการของพวกผมไปเยอะพอตัว ในตัวอย่างว่าแหวกแนวแล้ว ตัวหนังแหวกแนวไปยิ่งกว่า จากตอนแรกคิดว่ามันคงเป็นหนังดราม่าชีวิตธรรมดาๆ ที่ใช้จังหวะการเล่าแบบธรรมดาๆ แต่มันไม่ธรรมดาเลยจริงๆ

เนื้อเรื่องเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับหญิงสาวที่ชื่อ Azumi Haruko ที่โสด สวย นิสัยดี!? แต่เธอถูกทอดทิ้งจากสังคมและผู้ชายที่เธอรัก (ภาษาวัยรุ่นก็คือ เท นั่นเอง) และหายตัวไปอย่างลึกลับ หลังจากที่หายไปก็มีคนกลุ่มนึงได้นำภาพของเธอไปทำเป็นกราฟิตี้ จนเกิดเป็นกระแสในโลกอินเตอร์เน็ต และทำให้เกิดการตามหาตัวเธอไปทั่วเมือง ซึ่งทำให้เกิดการรวมตัวของสาวๆ เพื่อออกทำร้ายผู้ชายในเมืองยามค่ำคืนเพื่อเป็นการล้างแค้นให้กับเธอ

สำหรับหนังเรื่องนี้ งานภาพเป็นอะไรที่แปลกแหวกแนวมากๆเพราะ ตัวหนังใช้มุมกล้องที่ค่อนข้างแปลกและใช้ภาพลักษณะที่แปลกจากการที่หนังแนวนี้ทำกัน นั่นคือการใช้ Shaky Camera ที่มีปริมาณเยอะพอตัว ปกติหนังแนวนี้จะไม่ค่อยใช้มุมกล้องลักษณะนี้ แต่เรื่องนี้ใช้และสามารถสื่ออารมณ์ของหนังออกมาได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งมันเข้ากับตัวโทนของหนังเรื่องนี้เป็นอย่างดี

อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพูดเลยคือหนังเรื่องนี้มีความ Weird สูงมาก เพราะลำดับการตัดต่อและการเล่าเรื่องที่แปลกสุดๆ เนื่องจากหนังเรื่องนี้ใช้การตัดสลับโดยไม่เรียง Timeline และให้คนดูไปเรียงลำดับและตีความกันเอาเอง ซึ่งมันเป็นอะไรที่แปลกเอามากๆ แต่การทำอย่างนี้ก็ทำให้เราเข้าใจสิ่งที่เขาต้องการจะสื่อสารได้มากขึ้นอยู่พอตัว ซึ่งจะทำให้ยังมีบางจังหวะที่ต้องทำให้เราลุ้นว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นต่อไปบ้าง

อีกอย่างที่หนังเรื่องนี้ทำได้ดีคือการสะท้อนสังคมของญี่ปุ่น ในเรื่องของการ Sexism ในสังคมของญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือนขั้นต่ำของสองเพศที่ Start ไม่เท่ากัน การกดขี่ดูถูกผู้หญิง ความไม่เท่าเทียมในการได้รับการยอมรับ ความกดดันภายในใจนั้นถูกถ่ายทอดมาในหนังได้อย่างดี ผู้ชายอย่างพวกผมดูยังจุกในหลายจังหวะ เราจะได้เห็นการเอาคืนของผู้หญิงที่โคตรโหด กลายเป็นหนัง Feminist เลยในช่วงท้าย

สิ่งที่อยากชื่นชมเล็กน้อยสำหรับคนแปลและทำ Subtitle คือเขากล้าที่จะแปลตรงตัว หยาบคือหยาบ ไม่จำเป็นต้องปราณี จุดนี้พวกเราชอบกันมาก แต่ก็ยังมีจุดที่พิมพ์พลาดบ้างแต่ก็ยังพอเข้าใจความหมายอยู่ แต่หวังว่าจะไม่พลาดกันอีกนะครับ Mr.P เป็นห่วง แหะๆ

ทั้งหมดทั้งมวลแล้วคือความดีงาม แต่ก็ใช่ว่ามันจะเป็นหนังที่ทุกคนสามารถดูกันได้ เพราะมันทำความเข้าใจและการเข้าถึงหนังเรื่องนี้ได้ค่อนข้างยากพอสมควร เป็นผลมาจากการตัดสลับแบบไม่เรียง Timeline ทำให้บางทีคนดูที่ไม่อินกับเนื้อหาอาจจะหลับได้ แต่ถ้าผ่านจุดนี้และเรียงลำดับเรื่องราวได้ รับรองว่า Enjoy แน่นอนครับ

หนังเรื่องนี้ถือว่าเป็นตัวอย่างที่ดีในการสื่อสารกับผู้คนในด้านของแง่คิดและสื่อสารผู้คนได้อย่างมีศิลปะ เป็นสิ่งที่เราจะไม่ค่อนได้เห็นกันบ่อยๆ เพราะบางครั้งเราก็ลืมกันไปว่าหนังก็เล่าในลักษณะนี้ที่มีความเป็นศิลปะได้เหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องเล่าเป็นเส้นตรงแต่ก็ยังทำให้เราสนุกไปกับเนื้อหาและได้แง่คิดดีๆได้เหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องดูให้มันผ่านไปอย่างเดียวพร้อมกับได้แง่คิดดีๆและการลำดับความที่จะเป็นบทเรียนให้เราได้ลองฝึกปะติดปะต่อเรื่องราวโดยไม่รอให้ใครมาป้อนให้อย่างเดียว

Review By : Mr.P & Nerdtipoom

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ตัวอย่างแรกและนักแสดงทั้งหมดในภาพยนตร์ Saiki Kusuo no Sainan ฉบับ Live Action

หลังจากประกาศสร้างมาตั้งปี 2015 ก็ได้มีการปล่อยตัวอย่างแรกพร้อมเหล่านักแสดงออกมาทั้งหมดแล้ว ตัวอย่างภาพยนตร์ - https://www.youtube.com/watch?v=4tCACKYolrs&t=0s และมีนักแสดงดังต่อไปนี้

"โกไคเจอร์" กลับมาครบทีม ร่วมฉลองซูเปอร์เซนไตซีรี่ส์ครบ 2,000 ตอน

นับตั้งแต่  "ขบวนการ ห้าจอมพิฆาต โกเรนเจอร์"  ได้ออกฉายตั้งแต่วันที่  4 เมษายน 1975  มาจนถึงขบวนการล่าสุด  "ขบวนการ ราชันย์สรรพสัตว์ จูโอเจอร์"  ซึ่งในวันที่  11 กันยายน  ก็จะฉายครบ  2,000 ตอน พอดี ในตอนที่  28-29   (ฉายวันที่ 4 และ 11 ก.ย.)  จึงได้มีตอนพิเศษขึ้นฉลอง โดยตอนพิเศษทั้ง  2  ตอน จะได้นักแสดงจาก  "ขบวนการ โจรสลัด โกไคเจอร์"  กลับมาแบบครบทีม ในรอบ  3 ปีครึ่ง  หลังจากภาพยนตร์  "ขบวนการ จารชน โกบัสเตอร์ ปะทะ ขบวนการ โจรสลัด โกไคเจอร์ เดอะมูฟวี่"

掟上今日子の備忘録。(Okitegami Kyoko no Biboroku) สมุดบันทึกความทรงจำของ โอคิเตะงามิ เคียวโกะ

            ก่อนจะเริ่มต้นวิจารณ์หรือวิเคราะห์ดีล่ะ เลือกไม่ถูก ถ้างั้นใช้เป็นว่า วิเคราะห์ น่าจะเหมาะสมที่สุดล่ะ ต้องขอบอกก่อนว่า ไม่ได้ตามดูซีรี่ส์จากทางฝั่งญี่ปุ่นมานานมากประมาณเกือบ 3 ปีได้ หลังจากซีรี่ส์ “Ando Lloyd - A.I. Knows Love ?” แล้วช่วงนี้ประจวบเหมาะกับไม่มีอะไรดู (เหรอ ? ) เลยลองมานั่งหาซีรี่ส์จากทางญี่ปุ่นดูบ้าง เปลี่ยนแนวจากที่ปกติเดิมจะดูแต่ซีรี่ส์ภาพยนตร์จากทางอเมริกาซะส่วนใหญ่ และ Okitegami Kyoko no Biboroku. เพื่อนก็แนะนำมาตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วก่อนซีรี่ส์จะจบด้วยซ้ำ (ตอนนั้น ฉายไป 8 ตอน ซีรี่ส์มีทั้งหมด 10 ตอน) เขาดูกันไปจะเกือบปีล่ะ ตัวเองพึ่งจะมานั่งดู หยิบขึ้นมาดูเท่านั้นแหละ กลายเป็นติดใจจนเลิกดูไม่ได้ นั่งดูอยู่บนห้องมันทั้งวันนี่แหละครับ ฮา